ในช่วงวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2568 คณะผู้นำชุมชนยลวิถี อินฟลูเอนเซอร์ เจ้าหน้าที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ สุโขทัย และตาก กว่า 60 ชีวิตได้ร่วมเดินทางสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนยลวิถี เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน พร้อมสัมผัสวัฒนธรรมและวิถีชีวิตท้องถิ่นของ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ สุโขทัย และตาก ซึ่งแต่ละจังหวัดมีจุดเด่นทางการท่องเที่ยวที่น่าสนใจและแตกต่างกันไป การเดินทางในครั้งนี้นางสาวนิภาวรรณ กาญจนพิทักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้นำในการเดินทางเปิดเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนยลวิถี และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนเชื่อมโยงกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 โดยเยี่ยมชม ชุมชนพญาเสือ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลกจังหวัดพิษณุโลก ชุมชนวัดโฆษา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ชุมชนวัดพระบรมธาตุ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ชุมชนท่าชัย-ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ชุมชนวัดไทยสามัคคี อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
พิษณุโลก: ศูนย์กลางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
การเดินทางเริ่มต้นที่จังหวัดพิษณุโลก เมืองที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และศาสนา คณะเดินทางได้ร่วมกิจกรรมตักบาตรรับอรุณ และเไหว้พระขอพร พระพุทธชินราช ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุดในประเทศไทย จากนั้นเดินทางไปยัง วัดราชบูรณะ วัดเก่าแก่อายุกว่า 1,000 ปี ชมเรือพระที่นั่งรัชกาลที่ 5และโบราณวัตถุที่ค้าพบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ร่วมเจิมมือเปิดทรัพย์ เชื่อนะมะมนต์ จิบกาแฟแลวัดชมโบราณสถาน จากนั้นคณะได้ร่วมกิจกรรมเปิดเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนยลวิถีและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนเชื่อมโยงกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยนายนิสิต สวัสดิเทพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธาน เสร็จแล้วคณะได้เดินทางมุ่งหน้าสู่
เพชรบูรณ์: เมืองแห่งขุนเขาและวัดศักดิ์สิทธิ์
จากนั้นคณะเดินไปต่อที่วัดพระธาตุผาแก้ว อ.เขาค้อ ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขาสูง มีการผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบไทยและสไตล์โมเดิร์นที่ทันสมัย โดยการใช้กระเบื้องเซรามิกที่มีสีสันสะดุดตาและรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร นอกจากความสวยงามทางด้านสถาปัตยกรรมและทิวทัศน์แล้ว ด้วยความโดดเด่นทั้งในด้านความงามของสถาปัตยกรรมและธรรมชาติที่รายล้อม ทำให้วัดผาซ่อนแก้วเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนเขาค้อ ชมความตื่นตาตื่นใจกับสถาปัตยกรรมภายในวัดเสร็จสิ้นแล้ว เดินไปกันต่อที่
อุตรดิตถ์: เมืองประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม
คณะเดินทางมาถึงชุมชนยลวิถีวัดพระบรมธาตุ อำเภอลับแล ยามพลบค่ำได้รับการต้อนรับจากขบวนกลองยาวที่สนุกสนาน คึกคักและได้ร่วมรับประทานอาหารค่ำบริเวณหน้าพระบรมธาตุ ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมังคละและกลองยาวที่เรียกความกระชุ่มกระชวยหลังจากเดินทางมาร่วมหลายชั่วโมง ทำให้ความอ่อนเพลียหายเป็นปลิดทิ้ง
เช้าวันที่ 23 กุมภาพันธ์ คณะได้พร้อมกันเพื่อเก็บภาพบรรยากาศของอำเภอลับแลที่บริเวณจุดเช็คอินซุ้มประตูเมืองลับแล พร้อมเยี่ยมชมถ้ำจำลองเมืองลับแล พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล ภาพสะท้อนอดีตชุมชน พิพิธภัณฑ์เรือนลับแลเป็นอีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอลับแล เป็นสถานที่จัดแสดงเรื่องราววิถีชีวิต วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมบ้านไม้โบราณของชาวลับแล ภายในพิพิธภัณฑ์มีข้าวของเครื่องใช้ในอดีตที่สะท้อนถึงความเรียบง่ายและภูมิปัญญาของชาวบ้าน ผู้ที่สนใจเรียนรู้เรื่องราวของเมืองลับแลจะได้รับความรู้จากแหล่งเรียนรู้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์ผ้าซิ่นตีนจกไท-ยวนโดยผ้าซิ่นตีนจกจะมีลักษณะเป็นผ้าผืนยาวที่ทอด้วยเส้นด้ายหลายสี และมักจะมีลวดลายที่ซับซ้อนและมีความละเอียดสูง โดยเฉพาะบริเวณขอบผ้าหรือส่วนที่เป็นลายที่เรียกว่า "ตีน" (หรือลายขอบ) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่ทำให้ผ้าซิ่นตีนจกมีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เป็นสินค้าหัตถกรรมที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ จากนั้นเข้าสักการะ วัดพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ที่มีประวัติยาวนาน เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นศูนย์กลางความศรัทธาของชาวอุตรดิตถ์ ถัดไปเล็กน้อยจะเป็นพระแท่นศิลาอาสน์ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อีกหนึ่งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอุตรดิตถ์คือ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน"พระแท่นศิลาอาสน์" หรือแท่นหินที่เชื่อว่าเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต พระแท่นศิลาอาสน์มีลักษณะเป็นแท่นหินใหญ่ที่มีการแกะสลักอย่างละเอียด ก่อนเที่ยงคณะมุ่งหน้าไปยัง จ.สุโขทัย
สุโขทัย: การท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์มรดกไทย
สำหรับที่ ชุมชนยลวิถีท่าชัย -ศรีสัชนาลัย นอกจากผ้าทออันงดงามแล้ว ศรีสัชนาลัยยังเป็นที่รู้จักในเรื่องของการทำเครื่องเงินที่มีประวัติยาวนานและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมากคือ งานเครื่องเงินศรีสัชนาลัยเป็นหัตถศิลป์ที่ละเอียดประณีต มีลวดลายที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะไทยโบราณและลวดลายเฉพาะถิ่น ช่างฝีมือในชุมชนยังคงใช้เทคนิคการตีขึ้นรูปด้วยมือ ผสมผสานกับลวดลายแกะสลักที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้เครื่องเงินของที่นี่ได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ
ก่อนตะวันจะสิ้นแสง คณะเดินทางไกลกว่า 3 ชั่วโมงครึ่ง ระยะทางกว่า 200 กิโลไปยังชุมชนวัดไทยสามัคคี อ.แม่สอด จ.ตาก
ตาก: สัมผัสวิถีชีวิตชนเผ่าและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ตื่นเช้าด้วยความสดชื่นท่ามกลางบรรยากาศที่มีฝนโปรยเม็ด ทำให้เป้นบรรยากาศที่ยังอยากพักผ่อนต่อ แต่เรามีภารกิจไปยัง ชุมชนวัดไทยสามัคคี พร้อมกับการทานโรตีอบโอ่ง มีรสหวานนุ่มและมีกลิ่นหอมจากการอบในเตาโอ่ง โดยการอบด้วยความร้อนจากเตาโอ่งที่เป็นแบบดั้งเดิมนี้จะทำให้โรตีมีความกรอบนอกนุ่มใน เป็นขนมที่ไม่เหมือนใครและได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวและคนท้องถิ่น ก่อนฮีลใจกับบรรยากาศภายในวัดกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิิ์หลวงพ่อทันใจรัตนมุงเมือง นอกจากนี้เจดีย์ภายในวัดมีเจดีย์ลักษณะคล้ายเจดีย์ชเวดากองของพม่า เป็นสีทองอร่าม มีความวิจิตรบรรจง และเป็นจุดศูนย์รวมศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ภายในอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังและลวดลายแกะสลักที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า วัดแห่งนี้ไม่เพียงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงความกลมเกลียวของสองเชื้อชาติที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเกี่ยวพันกันมาอย่างยาวนาน
ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ดินแดนชายแดนไทย-เมียนมา ซึ่งเป็นบ้านของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม"วัดไทยพัฒนาราม"ได้กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญที่เชื่อมโยงความศรัทธาและวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยพื้นเมือง ชาวกะเหรี่ยง มอญ ไทใหญ่ และพม่า เมื่อคณะเดินทางถึง ชมการแสดงทางวัฒนธรรมไทใหญ่ “รำนกกิ่งกะหร่า”และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดที่ประดับตกแต่งด้วย แผ่นทองหรือเคลือบทอง ทั้งพระพุทธรูปที่ตั้งอยู่ในพระอุโบสถหรือบริเวณสำคัญ ผนัง, เพดาน และส่วนต่างๆ ภายในอุโบสถ ช่วยสร้างความสวยงาม ความสง่างาม และเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ให้กับวัด
ย้อนกลับสุ่เมืองสองแคว เยี่ยมชุมชนพญาเสือ
ชุมชนพญาเสือตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลกเป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เป็นชุมชนเก่าแก่ซึ่งอาศัยมาอย่างน้อย80ปีกับมนต์เสน่ห์อันคาดไม่ถึงของชุมชนย่านเก่าในเมืองพิษณุโลก และตามรอยวิถีชุมชนอันเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายกว่าที่คิด จุดแรกที่คณะเดินทางแวะคือพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมและแสดงสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดพิษณุโลก รวมถึงเรื่องราวของการพัฒนาและวิถีชีวิตของชาวบ้านในอดีต พิพิธภัณฑ์นี้มีการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ ที่สะท้อนถึงความเป็นมาของชุมชน ทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องจักสาน ภาพถ่ายเก่า และวัสดุอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์นี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้และสัมผัสกับวัฒนธรรมและประเพณีของคนในพื้นที่ รวมทั้งเป็นแหล่งความรู้สำหรับผู้ที่สนใจในประวัติศาสตร์และมรดกของท้องถิ่น ในการเยี่ยมชมครั้งนี้มีการสาธิตการทำเมี่ยงคำและของทานเล่นที่แสนจะอร่อย เรียกว่าทานจนพุงกางทั้งคณะ
อีกจุดที่น่าสนใจคือพิพิธภัณฑ์มิตร ชัยบัญชา ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของมิตร ชัยบัญชา นักแสดงที่มีชื่อเสียงในวงการภาพยนตร์ไทย ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น "พระเอกหนังไทย" คนแรกๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงยุค 1950-1960ภายในพิพิธภัณฑ์จะมีการจัดแสดงสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของมิตร ชัยบัญชา เช่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายที่ใช้ในภาพยนตร์ ผลงานภาพยนตร์ที่เขาร่วมแสดง และของสะสมต่างๆ ที่สะท้อนถึงชีวิตและอาชีพของเขา นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงภาพถ่ายและวิดีโอที่เล่าเรื่องราวของการทำงานในวงการบันเทิงของมิตร ชัยบัญชา พิพิธภัณฑ์นี้เป็นสถานที่สำคัญสำหรับผู้ที่สนใจในวงการภาพยนตร์ไทยในอดีตและช่วยให้เห็นถึงการพัฒนาของวงการบันเทิงไทยในช่วงนั้น ก่อนที่คณะจะเดินทางกลับพื้นที่ เสร็จสิ้นการเดินทาง 3 วัน 2 คืนที่สุดแสนจะประทับใจ ซึ่งทางสำนักงานวัฒนธรรมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือล่าง 5 จังหวัดได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาเพื่อมุ่งเสริมสร้างความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ เกิดการพัฒนาต่อยอดและขยายผลความสำเร็จไปยังชุมชนอื่นๆ ปลุกกระแสการท่องเที่ยววิถีชุมชน การนำศิลปะการแสดง ผลิตภัณฑ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น มาจัดแสดงให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รู้จักอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างอาชีพ และรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชน รวมทั้งเป็นเวทีให้ชุมชนแต่ละแห่งได้แสดงศักยภาพของตนเองในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอีกทั้งยังเป็นโอกาสที่ดีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างชุมชนในภาคเหนือตอนล่างซึ่งแต่ละจังหวัดมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจเส้นทางท่องเที่ยว"ชุมชนยลวิถี"เป็นการสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมและธรรมชาติที่ล้ำค่าของภาคเหนือล่าง โดยคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสทั้งความงดงามและความทรงคุณค่าของภูมิภาคนี้อย่างแท้จริง.
ชมภาพตลอดทริปการเดินทาง
ขอขอบคุณ
#สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก : นางสาวนิภาวรรณ กาญจนพิทักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก
#สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย:นางเบ็ญจมาส บุญเทพ วัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย
#สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์: นายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์
#สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก:นางประสพสุข กันภัย วัฒนธรรมจังหวัดตาก
#สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์:นางฐิติญา จั่นเอี่ยม นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทน วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์
บันทึกนักเดินทางจังหวัดเพชรบูรณ์
นายสุริยัน เกื้อกูล/นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ
นายปิยพงษ์ แลคำ/นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ
นายวิริทธิ์พล หิรัญรัตน์/นายกสมาคมนักวิทยและไทรทัศน์จังหวัดเพชรบูรณ์
นางสาวมนสิชา คล้ายแก้ว/อินฟลูเอนเชอร์
นางสาววิศัลยา มาจุ่ม /สารวัตรกำนันตำบลห้วยไร่(ผู้แทนชุมชน)
นางสาวยุวพา พาแพง /ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ตำบลห้วยไร่(ผู้แทนชุมชน)
นางสายชน ศรีชมชื่น / ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ตำบลห้วยไร่(ผู้แทนชุมชน)
นางคำมาย สร้อยมี / ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 ตำบลห้วยไร่(ผู้แทนชุมชน)
นางสาวสุพัตรา กำแซง/ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ตำบลห้วยไร่(ผู้แทนชุมชน)
นางสาวสายชล ซาสิงห์ /ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 12 ตำบลห้วยไร่(ผู้แทนชุมชน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น